การเลือกซื้อฟิล์มลดความร้อน

      เนื่องจากปัจจุบันมีฟิล์มกรองแสงนับสิบแบรนด์อยู่ในตลาด ซึ่งทุกแบรนด์ต่างก็โฆษณาว่าเป็นสินค้านำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถลดความร้อนได้สูง ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้เกือบ 100 % บางรายรับประกันตลอดอายุการใช้งาน เป็นต้น

      สิ่งเหล่านี้ถ้าฟิล์มแบรนด์นั้นมีคุณสมบัติอย่างที่โฆษณาจริง ผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์และความพอใจที่ตรงตามความต้องการของตนเอง และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ปัญหาคือจะทราบได้อย่างไรว่าข้อความที่โฆษณาเป็นจริงหรือไม่?

ฟิล์มลดความร้อนฮานิตะ จึงขอเสนอแนะวิธีการในการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1. มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม

2. คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม ( FILM SPECIFICATION )

3. บริษัทฯผู้นำเข้า

4. ราคา

 

1. มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม

      ตลาดฟิล์มกรองแสงในบ้านเรานั้นมีมูลค่าที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ลงทุนทั้งในวงการและนอกวงการมาก ทำให้มีการแข่งขันกันสูง ผู้บริโภคจะพบว่ามีฟิล์มมากมายแบรนด์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้นเมื่อท่านต้องการฟิล์มที่มีคุณภาพมาตรฐาน สิ่งที่ท่านต้องพิจารณาอันดับแรกคือมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม

- มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์มดูได้จากที่ไหน?

      จากโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ของฟิล์มแบรนด์นั้นๆโดยตรง แต่จะใช้ได้เฉพาะกับฟิล์มที่แจ้งชื่อโรงงานที่ตนนำเข้าเท่านั้น เพราะผู้บริโภคสามารถตรวจสอบกลับไปที่ WEBSITE ของโรงงานได้เลยว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ผู้นำเข้าเป็นตัวแทนจำหน่ายจริงไหม สินค้ามีมาตรฐานอะไรบ้าง ค่าการทดสอบต่างๆใช้มาตรฐานอะไรวัด (เช่น ASTM E 903 – 82 เป็นต้น) เป็นมาตรฐานที่องค์กรสากลเกี่ยวกับเรื่องฟิล์มเช่น AIMCAL หรือ ASTM รับรองจริงหรือเปล่า ตัวเลขที่ผู้นำเข้านำมาโฆษณาตรงกันกับตัวเลขของผู้ผลิตหรือไม่ ได้ ISO 9001 หรือ 9002 จริงหรือไม่ ผู้ผลิตรับประกันกี่ปี

      สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภครู้ว่าฟิล์มแบรนด์นั้นมีมาตรฐานเป็นอย่างไร และคุณสมบัติที่นำมาโฆษณาสู่สาธารณชนถูกต้องตรงตามโรงงานผู้ผลิตหรือไม่ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าฟิล์มที่ไม่มีมาตรฐานอะไรเลยหรือไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่ไปได้จะไม่มีคุณภาพ แต่การไม่เปิดเผยความจริง การบิดเบือนข้อมูลเป็นการแสดงถึงความไม่จริงใจกับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสับสนและได้ข้อมูลผิดๆ และอาจนำไปซึ่งการเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินไป หรือได้รับสินค้าที่คุณภาพต่ำเกินไป ถ้าไปติดฟิล์มที่โฆษณาเกินจริง ผู้บริโภคควรตรวจสอบให้แน่ชัดถึงแหล่งที่มาเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของท่าน ท่านทราบหรือไม่ว่า ฟิล์มส่วนใหญ่ที่อ้างว่านำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มาจากประเทศไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ ใกล้ๆ เรานี่เอง

- องค์กรและหน่วยงานระดับนานาชาติ (บางส่วน)ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจฟิล์ม

 (THE ASSOCIATION OF INDUSTRIAL METALLIZERS, COATERS AND LAMINATORS / www.aimcal.com )

เป็นสมาคมที่เน้นเฉพาะการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการ เคลือบละอองโลหะ ( METALLIZER ) เคลือบสารกันรอย ( COATING ) และเคลือบกาว ( LAMINATING ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในเรื่องแหล่งวัตถุดิบ, การบริการ และข้อมูลต่างๆ ก่อตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีค.ศ. 1970 ( พ.ศ. 2513 )โดยมี Hanita Coatings เป็น 1 ใน 8 ของผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนี้ (INTERNATIONAL WINDOW FILM ASSOCIATION / www.iwfa.com)

 

 เป็นสมาคมระดับนานาชาติสำหรับทุกหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่องฟิล์มกรองแสง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต, ผู้นำเข้า,ตัวแทนจำหน่าย, ศูนย์บริการติดตั้ง ก่อตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจฟิล์มกรองแสง

 

- มาตรฐานที่ใช้ในธุรกิจฟิล์ม

THE AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS / www.astm.org

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION / www.iso.org

THE AMERICAN NATIONAL STANDARDS INSTITUTE / www.ansi.org

 

 

2. คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม (FILM SPECIFICATION)

สำหรับผู้บริโภคทั่วไป จะพิจารณาจากคุณสมบัติหลักๆ 4 ตัว ดังนี้

- ปริมาณแสงส่องผ่านได้ ( VISIBLE LIGHT TRANSMITTED )

- ความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ( ULTRA VIOLET BLOCK )

- ความสามารถในการสะท้อนกลับของแสง ( VISIBLE LIGHT REFLECTED )

- ความสามารถในการลดความร้อน ( TOTAL SOLAR ENERGY REJECTED )

      ปริมาณแสงส่องผ่านได้ คือปริมาณของแสงที่ส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม วัดที่ความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร  ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจนที่สุด โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณแสงทั้งหมด ก่อนส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม ฟิล์มที่มีค่าปริมาณแสงส่องผ่านน้อยจะเป็นฟิล์มที่มีความเข้มมากกว่าฟิล์มที่มีปริมาณแสงส่องผ่านมาก คือตัวเลขยิ่งมากยิ่งใสนั่นเอง

      ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาว่ามีความต้องการติดฟิล์มที่มีความใสมากน้อยเพียงไรที่เหมาะสมกับตนเอง โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้ติดบานหน้าใสกว่าด้านข้าง เพื่อให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ดีกว่า การเลือกฟิล์มเข้มมากน้อยจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความชอบ, อายุผู้ขับขี่, ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น

      ความสามารถในการป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต คือปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตที่ถูกป้องกันไว้ไม้ให้ผ่านเข้ามา โดยคิดเป็นโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณรังสีทั้งหมดในแสงแดด โดยส่วนใหญ่ฟิล์มจะสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีอยู่แล้ว คุณสมบัติในข้อนี้จึงไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ในแต่ละแบรนด์ ความสามารถในการสะท้อนกลับของแสง ได้ คือปริมาณของแสงที่ถูกสะท้อนกลับเมื่อกระทบกับกระจกที่ติดฟิล์ม โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณแสงทั้งหมดก่อนส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม หรือค่าการสะท้อนแสงของฟิล์มนั่นเอง

      การเลือกฟิล์มที่มีค่าการสะท้อนมากก็จะมีผลกระทบต่อผู้อื่นมาก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ทั้งนี้อัตราการสะท้อนกลับของแสงไม่ควรเกิน 35 % สำหรับฟิล์มรถยนต์ ความสามารถในการลดความร้อน คือปริมาณพลังงานความร้อนที่ถูกป้องกันไว้ไม้ให้ผ่านกระจก โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับพลังงานความร้อนทั้งหมดในแสงแดด

      คุณสมบัติตัวนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวไทยต้องการมากที่สุด เพราะบ้านเรามีภูมิอากาศร้อนเกือบทั้งปี ตัวเลขยิ่งมากก็ยิ่งลดความร้อนได้สูง สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนมากที่สุดในปัจจุบันคือการแสดงค่าการลดความร้อนที่สูงมาก แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ หรือใช้ค่าการลดความร้อนจากอินฟราเรดมาแสดง ซึ่งรังสีอินฟราเรดเป็นส่วนประกอบเพียง 53 % ของพลังงานแสงอาทิตย์ ( ดูความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ) ดังนั้นจึงไม่ใช่ตัวเลขที่แสดงถึงการลดความร้อนจากแสงแดดที่แท้จริง รวมถึงการทดสอบโดยใช้สปอตไลท์เช่นกัน ไม่สามารถให้ค่าที่ถูกต้องได้ เพราะความร้อนจากสปอตไลท์เป็นพลังงานจากรังสีอินฟราเรดอย่างเดียว

 

 

3. บริษัทฯผู้นำเข้า

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาถึงบริษัทฯผู้นำเข้าเพื่อประกอบการตัดสินใจคือ

- มีความตั้งใจจริงที่จะนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ และมีความจริงใจกับผู้บริโภคแค่ไหน

      พิจารณาได้จากการนำเสนอข้อมูลของตัวสินค้าว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ แล้วท่านจะทราบว่าแบรนด์นั้นมีคุณภาพหรือไม่อย่างไร

- มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้แค่ไหน

      เนื่องจากฟิล์มเป็นสินค้าที่มีระยะเวลารับประกันนาน ดังนั้นจึงควรเลือกบริษัทฯที่อยู่ในธุรกิจมาเป็นเวลานานพอสมควร
เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าท่านจะได้รับการดูแลตลอดระยะเวลารับประกันของแบรนด์นั้น

- ทำตลาดในแบรนด์เดียวกับผู้ผลิตหรือเปล่า

      เนื่องจากปัจจุบันมากกว่า 90 % ของผู้ทำธุรกิจฟิล์มจะตั้งแบรนด์ขึ้นเอง (LOCAL BRAND) ทั้งนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร การเลือกใช้ฟิล์มที่นำเสนอในแบรนด์เดียวกับผู้ผลิตจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้มากกว่า ทั้งในด้านความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า และการรับประกัน

 

4. ราคา

      ปัจจัยเรื่องราคาถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องพิจารณาว่าราคาที่นำเสนอคุ้มค่ากับคุณประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่